No.2: Select 1-2 Schools for Professional Practicum: การเลือกสถานศึกษาเพื่อฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในปัจจุบัน(2567) คุรุสภากำหนดให้มีการฝึกประสบการณ์ระหว่างเรียน(Practicing during the study) ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต  และฝึกสอนในสาขาวิชาเฉพาะ(Teaching in a specific field of the study) เป็นการทำหน้าที่ครูแบบเต็มเวลา ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต โดยทั้งสองรายการรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา หรือ 30 สัปดาห์  ในการนี้ นักศึกษาควรลงทะเบียนเรียนวิชาปฏิบัติการวิชาชีพครู ทุกปีการศึกษา โดยควรเลือกโรงเรียนที่เข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพแบบประจำสัก 1-2 โรงเรียน

การเลือกโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพเป็นการประจำ อาจเลือกโรงเรียนในจังหวัดบ้านเกิดและโรงเรียนในละแวกใกล้มหาวิทยาลัย  โรงเรียนในจังหวัดบ้านเกิดจะเป็นโรงเรียนที่นักศึกษาคุ้นเคยตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมศึกษา จะสะดวกในการประสานงานกับครูแนะแนว หรือครูพี่เลี้ยงในสาขาวิชาเฉพาะที่ตนเองเลือกเป็นวิชาเอกในระดับปริญญาตรี  ส่วนโรงเรียนในละแวกใกล้มหาวิทยาลัยจะสะดวกในการเดินทางเข้า-ออกระหว่างมหาวิทยาลัยกับโรงเรียน

นักศึกษาควรใช้โรงเรียนฝึกประสบการณ์ที่เลือก ถือเป็นโรงเรียนที่เราทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยครูไปในตัว(มหาวิทยาลัยควรประกาศแต่งตั้ง และประสานงานกับโรงเรียนอย่างเป็นทางการ)  โดยนักศึกษาจะเข้าไปศึกษา ปฏิบัติการ หรือทดลองแนวคิดทางการศึกษา ตามที่อาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชามอบหมายงาน(Assignments)  หรือตามที่ได้รับมอบหมายการฝึกประสบการณ์วิชาชีพประจำปีการศึกษาผ่านรายวิชา ปฏิบัติการวิชาชีพ 1-4(Professional Practicum 1-4)

ในกรณีของการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียน 1-3  อาจดำเนินการได้เป็น 2 แนวทาง คือ

1. การออกฝึกเป็นช่วงเวลายาวแบบต่อเนื่อง 4-5 สัปดาห์ สำหรับการฝึกไม่น้อยกว่า 90 ชั่วโมง หรือ 2 หน่วยกิต   โดยอาจออกทำการฝึกช่วงต้นภาคเรียน ก่อนที่มหาวิทยาลัยจะเริ่มชั้นเรียนตามปกติ  หรือหลังสอบปลายภาคของมหาวิทยาลัยจบแล้ว ค่อยออกไปฝึก  หรือ แบบช่วงต้น 2 สัปดาห์ ช่วงปลายภาค 2 สัปดาห์ ฯลฯ

2. การฝึกแบบสั่งสมประสบการณ์ทุกภาคการศึกษา  ฝึกในช่วงระยะ 5 วันทำการปกติ(จันทร์-ศุกร์) ในช่วงที่ว่างจากการเรียนรายวิชาในมหาวิทยาลัย  เช่น ตามตารางสอน เราเรียน 4 วัน  ก็มีเวลาเหลือกอีก 1 วัน สำหรับการออกไปปฏิบัติการวิชาชีพครู  ผนวกกับ การฝึกต้นภาคเรียน ก่อนเริ่มชั้นเรียนปกติในมหาวิทยาลัย หรือฝึกเพิ่มเติมท้ายภาคเรียนหลังการสอบปลายภาค  จนกว่าจะครบ 90 ชั่วโมง หรือประมาณ  15-20 วัน... การฝึกแบบนี้ เรียกว่าการฝึกแบบสั่งสมประสบการณ์ เน้นการเรียนรู้หรือปฏิบัติให้ครบตามชิ้นงานที่หลักสูตรมอบหมาย  

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียน ไม่ว่าจะเลือกทางเลือกที่หนึ่ง หรือ สอง นักศึกษาควรยึดรายการประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับหรือตามที่ได้รับมอบหมายเป็นสำคัญ  แล้วสั่งสมผลงาน/ ชิ้นงาน/หรือหลักฐานการปกิบัติงานไว้ใน E-Portfolio อย่างครบถ้วน  และพร้อมสำหรับการนำเสนอผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ในสิ้นปีการศึกษา/หรือจบภาคการศึกษาที่ฝึกประสบการณ์

   อย่าลืม ทุกคน ควรเลือกสถานศึกษา 1-2 สถานศึกษา แล้วแจ้งทางคณะหรืออาจารย์นิเทศรับทราบ เพื่อประกาศแต่ตั้งอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งจะได้ประสานงานกับทางโรงเรียนให้รับทราบหลักการและแนวปฏิบัติให้ตรงกัน และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักศึกษา

Comments

Popular posts from this blog

No.1: A 4 Year Plan for success : Inspiring Yourself

NO.4: THE TEACHING LICENSE AND REQUESTING A TEACHING LICENSE